หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2567)

ชื่อหลักสูตร
ชื่อหลักสูตร (ภาษาไทย) หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช
ชื่อหลักสูตร (ภาษาอังกฤษ) Bachelor of Science Program in Crop Production Technology
ชื่อปริญญา และสาขาวิชา
ชื่อเต็ม (ไทย) วิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคโนโลยีการผลิตพืช)
ชื่อย่อ (ไทย) วท.บ. (เทคโนโลยีการผลิตพืช)
ชื่อเต็ม (อังกฤษ) Bachelor of Science (Crop Production Technology)
ชื่อย่อ (อังกฤษ) B.Sc. (Crop Production Technology)
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
  1. นักวิชากการเกษตรด้านพืชทั้งในบริษัทเอกชนและราชการ
  2. ผู้ประกอบการด้านพืช
  3. อาจารย์และนักวิจัย
ปรัชญา วัตถุประสงค์ของหลักสูตร และผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร (Program Learning Outcomes: PLOs)
ปรัชญาของหลักสูตร หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช เป็นหลักสูตรที่จัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนตามความถนัด โดยจัดการเรียนการสอนเป็นชุดวิชา (Modular) จัดการเรียนการสอนโดยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมและมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้เป็นสำคัญ เพื่อผลิตนักเทคโนโลยีการผลิตพืชที่มีความรู้ความสามารถ เป็นนักปฏิบัติ มีความเป็นผู้ประกอบการ และสามารถแก้ปัญหาและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เหมาะสม มีทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 โดยเป็นพลเมืองของโลกที่มีคุณภาพเพื่อเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
  1. ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ ความเข้าใจ และมีทักษะด้านเทคโนโลยีการผลิตพืชและศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง
  2. ผลิตบัณฑิตที่สามารถวิเคราะห์ปัญหา ประยุกต์ใช้ความรู้และเลือกใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ให้เหมาะสมกับงานด้านการผลิตพืช
  3. ผลิตบัณฑิตที่สามารถบูรณาการหลักความรู้เรื่องเศรษฐกิจชีวภาพ และการเป็นผู้ประกอบการ (entrepreneurship) กับงานด้านการผลิตพืชได้
  4. ผลิตบัณฑิตที่มีทัศนคติที่ดี มีทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 คุณธรรม จริยธรรม มีความเป็นผู้นำ มีโลกทัศน์สากล และมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร (Program Learning Outcomes: PLOs) PLO1 บูรณาการองค์ความรู้ ทฤษฎีทางด้านพืชศาสตร์และศาสตร์ที่เกี่ยวข้องเพื่อการผลิตพืชได้
SPLO1.1 อธิบาย หลักการ ทฤษฎีทางด้านพืชศาสตร์และศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีการผลิตพืชได้
SPLO1.2 เชื่อมโยงทฤษฎีทางด้านพืชศาสตร์และศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตพืชได้
PLO2 ประยุกต์ใช้องค์ความรู้เทคโนโลยีสมัยใหม่หรือนวัตกรรมด้านพืชศาสตร์กับการปฏิบัติงานด้านการผลิตพืชและผู้ประกอบการด้านพืชได้อย่างเหมาะสม
PLO3 วางแผนการผลิตโดยใช้เทคโนโลยีหรือนวัตกรรมเพื่อบริหารจัดการการผลิตพืชอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
PLO4 ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสืบค้น รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูลและถ่ายทอดความรู้ทางวิชาการได้อย่างถูกต้องทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
PLO5 มีความคิดสร้างสรรค์ แนวคิดแบบยืดหยุ่นและเติบโตพัฒนาต่อไปข้างหน้า (growth mindset) ในการปฏิบัติงานด้านการผลิตพืชในยุคการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว
PLO6 สื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพและการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
PLO7 มีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพในการปฏิบัติงานด้านการผลิตพืช
เว็บไซต์สาขาวิชา https://iat.sut.ac.th/croptech

โครงสร้างหลักสูตร

หน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า

156 หน่วยกิต
1) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ไม่น้อยกว่า
30 หน่วยกิต
1.1) กลุ่มวิชาแกนศึกษาทั่วไป
10 หน่วยกิต
1.2) กลุ่มวิชาภาษา
15 หน่วยกิต
1.3) กลุ่มวิชาศึกษาทั่วไปแบบเลือก
5 หน่วยกิต
2) หมวดวิชาเฉพาะ ไม่น้อยกว่า
118 หน่วยกิต
2.1) กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ
41 หน่วยกิต
2.2) กลุ่มวิชาบังคับวิชาชีพ
53 หน่วยกิต
2.3) กลุ่มวิชาเลือกวิชาชีพ
12 หน่วยกิต
2.4) กลุ่มวิชาประสบการณ์ภาคปฏิบัติ
9 หน่วยกิต
3) หมวดวิชาเลือกเสรี
8 หน่วยกิต

รายวิชาในหลักสูตร

1) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต
1.1) กลุ่มวิชาแกนศึกษาทั่วไป 10 หน่วยกิต
IST20 1005 การรู้สารสนเทศและสื่อดิจิทัล
(Metaliteracy)
4(3-2-7)
IST20 1006 สมรรถนะการเรียนรู้
(Learning Competencies)
3(3-0-6)
IST20 1007 ความเป็นพลเมือง
(Citizenship)
3(3-0-6)
1.2) กลุ่มวิชาภาษาต่างประเทศ 15 หน่วยกิต
IST30 1101 ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร 1
(English for Communication 1)
3(3-0-6)
IST30 1102 ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร 2
(English for Communication 2)
3(3-0-6)
IST30 1103 ภาษาอังกฤษเพื่อวัตถุประสงค์ทางวิชาการ
(English for Academic Purposes)
3(3-0-6)
IST30 1104 ภาษาอังกฤษเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ
(English for Specific Purposes)
3(3-0-6)
IST30 1105 ภาษาอังกฤษเพื่อการทำงาน
(English for Careers)
3(3-0-6)
1.3) กลุ่มวิชาศึกษาทั่วไปแบบเลือก ไม่น้อยกว่า
ให้ผู้เรียนเลือกเรียนจากรายวิชาดังต่อไปนี้
5 หน่วยกิต
IST20 1505 ศิลปวิจักษ์
(Art Appreciation)
2(2-0-4)
IST20 1506 สุขภาพองค์รวม
(Holistic Health)
2(2-0-4)
IST20 1507 กฎหมายในชีวิตประจำวัน
(Law in Daily Life)
2(2-0-4)
IST20 1508 แนวอีสานใต้
(Ways of Lower Isan)
2(2-0-4)
IST20 1509 การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ
(Effective Communication)
2(2-0-4)
IST20 1510 ชุมชนเสมือนจริง
(Virtual Community)
2(2-0-4)
IST20 2506 พันธกิจสัมพันธ์ชุมชนกับกลุ่มอาชีพ
(Professional and Community Engagement)
2(1-2-3)
IST20 2507 อาเซียนศึกษา
(Asean Studies)
2(2-0-4)
IST20 2508 ฮักเจ้าของ
(Love Yourself)
2(2-0-4)
IST20 2509 วาทกรรมเปลี่ยนโลกทัศน์
(Discourses and Worldview Change)
2(2-0-4)
IST20 2510 วิถีชีวิตเศรษฐกิจหมุนเวียน
(Circular Economy Lifestyle)
3(2-2-5)
2) หมวดวิชาเฉพาะ 118 หน่วยกิต
2.1) กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ 44 หน่วยกิต
SCI02 1105 เคมีอินทรีย์
(Organic Chemistry)
3(3-0-6)
SCI02 1106 ปฏิบัติการเคมีอินทรีย์
(Organic Chemistry Laboratory)
1(0-3-0)
SCI02 1111 เคมีพื้นฐาน 1
(Fundamental Chemistry I)
4(4-0-8)
SCI02 1112 ปฏิบัติการเคมีพื้นฐาน 1
(Fundamental Chemistry Laboratory I)
1(0-3-0)
SCI04 1001 หลักชีววิทยา 1
(Principles of Biology I)
4(4-0-8)
SCI04 1002 ปฏิบัติการหลักชีววิทยา 1
(Principles of Biology Laboratory I)
1(0-3-0)
SCI04 1003 ชีววิทยาของพืช
(Plant Biology)
3(3-0-6)
SCI04 1004 ปฏิบัติการชีววิทยาของพืช
(Plant Biology Laboratory)
1(0-3-0)
SCI05 1003 ฟิสิกส์ทั่วไป
(General Physics)
4(4-0-8)
SCI05 1193 ปฏิบัติการฟิสิกส์ทั่วไป
(General Physics Laboratory)
1(0-3-0)
SCI08 2001 จุลชีววิทยา
(Microbiology)
4(4-0-8)
SCI08 2002 ปฏิบัติการจุลชีววิทยา
(Microbiology Laboratory)
1(0-3-0)
SCI08 2201 ชีวเคมี
(Biochemistry)
4(4-0-8)
SCI09 2204 ปฏิบัติการชีวเคมี
(Biochemistry Laboratory)
1(0-3-0)
IAT31 1001 ปฐมนิเทศแรงบันดาลใจและนวัตกรรมการเกษตร
(ntroduction to Agricultural Inspiration and Innovation)
1(1-0-2)
IAT31 1002 การเขียนเชิงวิชาการ
(Academic Writing)
1(0-3-2)
IAT32 1001 เศรษฐศาสตร์เกษตรและการจัดการธุรกิจฟาร์ม
(Agricultural Economics and Farm Business Management)
4(4-0-8)
IAT32 1002 การผลิตพืชเบื้องต้น
(Fundamental Crop Production)
1(1-0-2)
IAT32 1003 พันธุศาสตร์พืช
(Plant Genetics)
2(2-0-4)
IAT32 1004 สถิติพื้นฐานสำหรับการผลิตพืช
(Fundamental Statistics for Crop Production)
2(2-0-4)
2.2) กลุ่มวิชาบังคับวิชาชีพ 53 หน่วยกิต
IAT32 2001 โครงสร้างและการเจริญเติบโตของพืช
(Plant Structure and Growth)
2(2-0-4)
IAT32 2002 เทคนิคและเทคโนโลยีการขยายพันธุ์พืช
(Plant Propagation Techniques and Technology)
1(0-3-2)
IAT32 2003 สรีรวิทยาการผลิตพืช
(Physiology of Crop Production)
3(2-3-4)
IAT32 2004 เทคโนโลยีเมล็ดพันธุ์
(Seed Technology)
2(1-3-2)
IAT32 2005 สรีรวิทยาหลังการเก็บเกี่ยวและเทคโนโลยี
(Post-Harvest Physiology and Technology)
3(2-3-4)
IAT32 2006 จักรกลการเกษตรและเกษตรอัจฉริยะสำหรับการผลิตพืช
(Farm Machinery and Smart Farming for Crop Production)
3(2-3-4)
IAT32 2007 แผนการทดลองและการวิเคราะห์ข้อมูลทางการเกษตร
(Experimental Design and Analysis for Agriculture)
3(2-3-4)
IAT32 2008 หลักการปรับปรุงพันธุ์พืช
(Principles of Plant Breeding)
3(2-3-4)
IAT32 2009 ดินและการจัดการดินสำหรับการผลิตพืช
(Soil and Soil Management for Crop Production)
3(2-3-4)
IAT32 2010 อุตุนิยมวิทยาการเกษตรและการจัดการชลประทาน
(Meteorology for Agriculture and Irrigation Management)
3(2-3-4)
IAT32 2011 การจัดการธาตุอาหารพืชและปุ๋ย
(Plant Nutrient and Fertilizer Management)
3(2-3-4)
IAT32 2012 แมลงศัตรูพืชและการป้องกันกำจัด
(Insect Plant Pests and Their Control)
3(2-3-4)
IAT32 2013 โรคพืชและการป้องกันกำจัด
(Plant Diseases and Their Control)
3(2-3-4)
IAT32 2014 วัชพืชและการป้องกันกำจัด
(Weeds and Their Control)
2(1-3-2)
IAT32 2015 เทคโนโลยีการผลิตพืชเศรษฐกิจ
(เทคโนโลยีการผลิตพืชเศรษฐกิจ)
4(3-3-6)
IAT32 2016 โครงการการผลิตพืชเชิงธุรกิจ 1
(Commercial Crop Production Project I)
2(1-3-2)
IAT32 2017 มาตรฐานสินค้าเกษตรและการจัดการ
(Agricultural Standards and Management)
2(1-3-2)
IAT32 2018 การค้นคว้าและการเขียนทางวิทยาศาสตร์
(Bibliographic Research and Scientific Writing)
2(1-3-2)
IAT32 2019 สัมมนา
(Seminar)
1(1-0-6)
IAT32 2020 ฝึกงานการผลิตพืช 1
(Crop Production Practicum I)
1(0-3-0)
IAT32 2021 ฝึกงานการผลิตพืช 2
(Crop Production Practicum II)
1(0-3-0)
IAT32 2022 ปัญหาพิเศษ
(Special Problems)
3(0-9-0)
2.3) กลุ่มวิชาเลือกวิชาชีพ ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต
01 ชุดวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช (Crop Production Technology Module) 19 หน่วยกิต
IAT32 3011 เทคโนโลยีการผลิตไม้ดอกไม้ประดับเศรษฐกิจ
(Economic Ornamental Crops Production Technology)
2(1-3-2)
IAT32 3012 เทคโนโลยีการผลิตไม้ผลเศรษฐกิจ
(Economic Fruit Crops Production Technology)
2(1-3-2)
IAT32 3013 เทคโนโลยีการผลิตผักเศรษฐกิจ
(Economic Vegetable Crops Production Technology)
2(1-3-2)
IAT32 3014 เทคโนโลยีการผลิตพืชไร่เศรษฐกิจ
(Economic Field Crops Production Technology)
2(1-3-2)
IAT32 3015 เทคโนโลยีการผลิตองุ่น
(Viticulture Technology)
2(1-3-2)
IAT32 3016 เทคโนโลยีการผลิตเครื่องเทศและสมุนไพร
(Spices and Herbs Plant Production Technology)
2(2-0-4)
IAT32 3017 เทคโนโลยีการผลิตมันสำปะหลัง
(Cassava Production Technology)
2(2-0-4)
IAT32 3018 กัญชาศาสตร์
(Cannabis Sciences)
3(2-3-4)
IAT32 3019 การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน
(Soilless Culture)
2(1-3-2)
02 ชุดวิชานักปรับปรุงพันธุ์พืช (Plant Breeder Module) 8 หน่วยกิต
IAT32 3021 การปรับปรุงพันธุ์พืชไร่
(Field Crop Breeding)
2(1-3-2)
IAT32 3022 การปรับปรุงพันธุ์พืชสวน
(Horticultural Crop Breeding)
2(1-3-2)
IAT32 3023 การปรับปรุงพันธุ์ผัก
(Vegetable Breeding)
2(1-3-2)
IAT32 3024 ธุรกิจพันธุ์และเมล็ดพันธุ์พืชเศรษฐกิจ
(Business Related to Economic Crop Varieties and Seed)
2(1-3-2)
03 ชุดวิชาการจัดการเมล็ดพันธุ์ (Seed Management Module) 6 หน่วยกิต
IAT32 3031 การผลิตเมล็ดพันธุ์พืชเศรษฐกิจ
(Seed Production of Economic Crops)
2(2-0-4)
IAT32 3032 เทคโนโลยีเมล็ดพันธุ์สมัยใหม่
(Modern Seed Technology)
2(1-3-2)
IAT32 3033 การรักษาสุขภาพเมล็ดพันธุ์
(Seed Health Maintenance)
2(1-3-2)
04 ชุดวิชานักเทคโนโลยีและการจัดการผลผลิตหลังการเก็บเกี่ยว (Technologists and Post-Harvest Production Management Module) 6 หน่วยกิต
IAT32 3041 เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวผักและผลไม้สด
(Post-Harvest Technology for Fresh Vegetables and Fruits)
2(1-3-2)
IAT32 3042 เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวไม้ตัดดอก
(Post-Harvest Technology for Cut Flowers)
2(1-3-2)
IAT32 3043 เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวสำหรับเมล็ดและธัญพืชเพื่อการบริโภค
(Post-Harvest Technology for Seeds and Grains for Consumption)
2(1-3-2)
05 ชุดวิชานวัตกรรมด้านอารักขาพืช (Innovations in Crop Protection Module) 6 หน่วยกิต
IAT32 3051 การคิดเชิงออกแบบด้านอารักขาพืช
(Design Thinking in Crop Protection)
2(1-3-4)
IAT32 3052 เทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านอารักขาพืช
(2(1-3-4))
Technology and Innovation in Crop Protection
IAT32 3053 ผู้ประกอบการ (สตาร์ทอัพ) ด้านอารักขาพืช
(Entrepreneurs (Startup) in Crop Protection)
2(1-3-4)
06 ชุดวิชาธุรกิจ อุตสาหกรรมเกษตรและผู้ประกอบการด้านพืช (Agrobusiness, Industry and Crop Entrepreneur Module) 14 หน่วยกิต
IAT32 3061 โครงการการผลิตพืชเชิงธุรกิจ 2
(Commercial Crop Production Project II)
2(1-3-2)
IAT32 3062 การเตรียมวัตถุดิบพืชอาหารให้ได้มาตรฐานอุตสาหกรรม
(Food Plant Material Preparation to Meet Industrial Standards)
3(2-3-4)
IAT32 3063 เทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับอุตสาหกรรมเกษตรด้านพืช
(Technology and Innovation in Crop Agrobusiness and Industry)
1(1-0-2)
IAT32 3064 การออกแบบธุรกิจและอุตสาหกรรมเกษตรด้านพืชตลอดห่วงโซ่อุปทาน
(Crop Agrobusiness Supply Chain and Industrial Design)
1(1-0-2)
IAT32 3065 ผู้ประกอบการธุรกิจนวัตกรรมอุตสาหกรรมเกษตรด้านพืช
(Crop Agrobusiness and Industry Innovation Driven Entrepreneur)
1(1-0-2)
IAT32 3066 การจัดการธุรกิจและอุตสาหกรรมเกษตรด้านพืช
(Crop Agrobusiness and Industry Management)
1(1-0-2)
IAT32 3067 การค้า การลงทุน และการส่งออก สินค้าเกษตรด้านพืช
(Trade, Investment, and Export of Agricultural Crop Products)
1(1-0-2)
IAT32 3068 การตลาดและการใช้สื่อดิจิทัลสำหรับอุตสาหกรรมเกษตรด้านพืช
(Marketing and Digital Application for Crop Agrobusiness and Industry)
1(1-0-2)
IST50 2401 ความเป็นผู้ประกอบการกับการสร้างธุรกิจใหม่
(Entrepreneurship and New Venture Creation)
3(3-0-6)
07 ชุดวิชานักเทคโนโลยีชีวภาพด้านพืช (Plant Biotechnology Module) 6 หน่วยกิต
IAT32 3071 เทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร
(Agricultural Biotechnology)
2(2-0-4)
IAT32 3072 การพัฒนาพันธุ์พืชโดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพ
(Crop Improvement by Biotechnology)
3(3-0-6)
IAT32 3073 การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช
(Plant Tissue Culture)
3(2-3-4)
IAT32 3074 เทคโนโลยีชีวภาพจุลินทรีย์สำหรับการผลิตพืช
(Microbial Biotechnology for Crop Production)
3(2-3-4)
08 ชุดวิชาการผลิตพืชอัจฉริยะ (Smart Crop Production Module) 6 หน่วยกิต
IAT32 3081 เทคโนโลยีอัจฉริยะสำหรับการผลิตพืช
(Smart Technology for Crop Production)
IAT32 3082 ระบบโรงเรือนอัจฉริยะและโรงงานผลิตพืช
(Smart Greenhouse and Plant Factory System)
2(1-3-2)
IAT32 3083 การจัดการฟาร์มอัจฉริยะ ทรัพยากรและการบริการทางด้านการเกษตร
(Modern Farm, Resources, and Agricultural Service Management)
2(2-0-4)
09 ชุดวิชาเกษตรปลอดภัย (Agricultural Safety Module) 4 หน่วยกิต
IAT32 3091 กฏหมายการเกษตรด้านพืช
(Agriculture Law for Crop)
2(2-0-4)
IAT32 3092 เกษตรอินทรีย์
(Organic Farming)
2(2-0-4)
10 ชุดวิชานักจัดภูมิทัศน์ (Landscaper Module) 6 หน่วยกิต
IAT32 3101 พรรณไม้สำหรับงานภูมิทัศน์
(Plant Materials for Landscape)
2(1-3-2)
IAT32 3102 การออกแบบภูมิทัศน์
(Landscape Design)
2(1-3-2)
IAT32 3103 การจัดการงานสนามและภูมิทัศน์
(Landscape and Turf Management)
2(1-3-2)
วิชาเลือกอื่น ๆ
(Landscaper Module)
12 หน่วยกิต
IAT32 3001 แรงบันดาลใจและชุดความคิดสู่ความสำเร็จในการผลิตพืช
(Inspiration and Mindsets for Success in Crop Production)
2(1-3-2)
IAT32 3002 แมลงเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม
(Economic and Industrial Insects)
2(1-3-2)
IAT32 3003 สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช
(Plant Growth Regulators)
2(1-3-2)
IAT32 3004 โครงงานวิจัยคัดสรรด้านพืช
(Crop Selected Research Projects)
6(0-18-0)
2.4) กลุ่มวิชาประสบการณ์ภาคปฏิบัติ 9 หน่วยกิต
CWI01 4100 เตรียมสหกิจศึกษาบูรณาการกับการทำงาน
(Pre-cooperative and work-integrated education)
1(0-3-3)
IAT32 4001 สหกิจศึกษาบูรณาการกับการทำงาน 1
(Cooperative and work-integrated education I)
8
IAT32 4002 สหกิจศึกษาบูรณาการกับการทำงาน 2
(Cooperative and work-integrated education II)
8
IAT32 4003 สหกิจศึกษาบูรณาการกับการทำงาน 3
(Cooperative and work-integrated education III)
8
IAT32 4004 โครงงานสหกิจศึกษา
(Cooperative Education Project)
8
3) หมวดวิชาเลือกเสรี
เลือกเรียนวิชาใด ๆ ก็ได้ที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัย จำนวนไม่น้อยกว่า 8 หน่วยกิต
8 หน่วยกิต

Download  มคอ. 2 หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2567)

อัตราค่าธรรมเนียมการศึกษา