หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางสัตว์ (หลักสูตรนานาชาติ) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565)

ชื่อหลักสูตร
ชื่อหลักสูตร (ภาษาไทย) หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางสัตว์ (หลักสูตรนานาชาติ)
ชื่อหลักสูตร (ภาษาอังกฤษ) Doctor of Philosophy Program in Animal Technology and Innovation (International Program)
ชื่อปริญญา และสาขาวิชา
ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางสัตว์)
ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) Doctor of Philosophy (Animal Technology and Innovation)
ชื่อย่อ (ภาษาไทย) ปร.ด. (เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางสัตว์)
ชื่อย่อ (อังกฤษ) Ph.D. (Animal Technology and Innovation)
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
  1. นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย ทางด้านการผลิตสัตว์ สามารถประกอบอาชีพที่เกี่ยวกับการคิดค้นเทคโนโลยี การนำเทคโนโลยีทางด้านการผลิตสัตว์ไปใช้ในอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ อุตสาหกรรมการผลิตอาหารสัตว์ อุตสาหกรรมการพัฒนาพันธุ์สัตว์ อุตสาหกรรมระบบการผลิตสัตว์ เป็นต้น
  2. นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย ทางด้านการผลิตสัตว์ ในองค์กรของรัฐ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาปรับปรุงการผลิตสัตว์ ระบบการผลิตสัตว์ การพัฒนาพันธุ์สัตว์ และการพัฒนาอาหารสัตว์ เป็นต้น
  3. อาจารย์ทางด้านการผลิตสัตว์ในสถาบันการศึกษาระดับต่างๆ จนถึงระดับอุดมศึกษา
  4. ธุรกิจส่วนตัว และอาชีพอิสระ
ปรัชญา และผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร (Program Learning Outcomes: PLOs)
ปรัชญาของหลักสูตร สร้างนักวิจัยที่มีคุณธรรมและจริยธรรม ที่สามารถสร้างองค์ความรู้ใหม่/เทคโนโลยี/นวัตกรรม เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาและสร้างโอกาสให้กับวงการปศุสัตว์ของประเทศ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่สมดุล และเชื่อมโยงทุกระดับของสังคมที่มีพลวัตสูง
ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร (Program Learning Outcomes: PLOs) PLO1 แสดงออกถึงความซื่อสัตย์สุจริต การมีวินัย การตรงต่อเวลา ความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
PLO2 อธิบายหลักการ ทฤษฎี เชื่อมโยงและประยุกต์ใช้ความรู้ ของรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางสัตว์ และศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้
PLO3 นำเสนอได้ทั้งการพูด การฟัง การอ่าน และการเขียน เชิงวิชาการได้
PLO4 ออกแบบและสร้างผลงานวิจัยด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางสัตว์หรือที่เกี่ยวข้องได้
PLO5 วิเคราะห์ สังเคราะห์ ข้อมูลจากงานวิจัยทางด้านเทคโนโลยีการผลิตสัตว์หรือที่เกี่ยวข้องได้
PLO6 ถ่ายทอดผลงานวิจัยด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางสัตว์ หรือเผยแพร่ในระดับนานาชาติได้
หลักสูตร
สำหรับผู้ที่ศึกษาต่อจากขั้นปริญญาโท
แบบ 1 (แบบ 1.1) เป็นการศึกษาที่เน้นการวิจัยโดยการทำวิทยานิพนธ์เพียงอย่างเดียว มีจำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 60 หน่วยกิต
แบบ 2 (แบบ 2.1) เป็นการศึกษาที่เน้นการทำวิทยานิพนธ์และการเรียนรายวิชาที่คิดค่าคะแนน มีจำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 60 หน่วยกิต
สำหรับผู้ที่ศึกษาต่อจากขั้นปริญญาตรี
แบบ 2 (แบบ 2.1) เป็นการศึกษาที่เน้นการทำวิทยานิพนธ์และการเรียนรายวิชาที่คิดค่าคะแนน มีจำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 90 หน่วยกิต

โครงสร้างหลักสูตร

หมวดวิชา หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (จำนวนหน่วยกิต)
แบบ 1.1 แบบ 2.1 แบบ 2.2
วิชาแกน 63 63 124 124
วิชาเลือก1 ไม่น้อยกว่า 8 - ไม่น้อยกว่า 18 ไม่น้อยกว่า 10
วิทยานิพนธ์2 ไม่น้อยกว่า 60 ไม่น้อยกว่า 46 ไม่น้อยกว่า 46 ไม่น้อยกว่า 60 ไม่น้อยกว่า 60
สหกิจบัณฑิตศึกษา 8 8
รวม ไม่น้อยกว่า 60 ไม่น้อยกว่า 60 ไม่น้อยกว่า 60 ไม่น้อยกว่า 90 ไม่น้อยกว่า 90

1 การเรียนรายวิชา นักศึกษาสามารถลงทะเบียนเรียนวิชาของสาขาวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางสัตว์ หรือสาขาอื่นได้ โดยอยู่ในความเห็นชอบของสาขาวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางสัตว์
2 การทำการวิจัยเพื่อทำวิทยานิพนธ์นั้น อาจกระทำทั้งหมดที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี หรือที่มหาวิทยาลัยหรือสถาบันวิจัยอื่นๆ ทั้งภายในและต่างประเทศซึ่งมีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี หรือเครือข่ายวิชาการที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีเป็นสมาชิก
3 เป็นวิชาในกลุ่มสัมมนา 6 หน่วยกิต ถ้าไม่เคยเรียนวิชาที่เทียบเท่ากับ IAT33 8101 การวางแผนการทดลองทางสัตวศาสตร์ มาก่อน ต้องลงทะเบียนเรียนวิชาทั้งสองนี้ เพิ่มอีก 4 หน่วยกิต รวมเป็นหน่วยกิตในหมวดวิชาแกน 10 หน่วยกิต และมีหน่วยกิตรวมทุกหมวดไม่น้อยกว่า 60 หน่วยกิต
4 เป็นวิชา IAT33 8101 การวางแผนการทดลองทางสัตวศาสตร์ และกลุ่มวิชาสัมมนา 8 หน่วยกิต

รายวิชาในหลักสูตร

1) วิชาแกน (Core Courses)
IAT33 8101 การวางแผนการทดลองทางสัตวศาสตร์
(Experimental Designs in Animal Science)
4(4-0-8)
IAT33 9201 สัมมนาระดับปริญญาเอก 1
(Ph.D. Seminar I)
1(1-0-9)
IAT33 9202 สัมมนาระดับปริญญาเอก 2
(Ph.D. Seminar II)
1(1-0-9)
IAT33 9203 สัมมนาระดับปริญญาเอก 3
(Ph.D. Seminar III)
1(1-0-9)
IAT33 9204 สัมมนาระดับปริญญาเอก 4
(Ph.D. Seminar IV)
1(1-0-9)
IAT33 9205 สัมมนาระดับปริญญาเอก 5
(Ph.D. Seminar V)
1(1-0-9)
IAT33 9206 สัมมนาระดับปริญญาเอก 6
(Ph.D. Seminar VI)
1(1-0-9)
IAT33 9207 สัมมนาระดับปริญญาเอก 7
(Ph.D. Seminar VII)
1(1-0-9)
IAT33 9208 สัมมนาระดับปริญญาเอก 8
(Ph.D. Seminar VII)
1(1-0-9)
2) วิชาเลือก (Electives)
2.1) กลุ่มวิชาการวางแผนการทดลองและหัวข้อศึกษา (Experimental Designs and Topics)
IAT33 8102 หัวข้อศึกษาทางเทคโนโลยีการผลิตสัตว์
(Topics in Animal Production Technology)
1(1-0-9)
IAT33 8103 การวิจัยทางสัตวศาสตร์
(Research Methodology in Animal Science)
3(3-0-6)
2.2) กลุ่มวิชาสัมมนา (Seminar)
IAT33 9209 สัมมนาระดับปริญญาเอก 9
(Ph.D. Seminar IX)
1(1-0-9)
2.3) กลุ่มวิชาการปรับปรุงพันธุ์สัตว์ (Animal Breeding)
IAT33 6301 พันธุศาสตร์และเทคโนโลยีชีวภาพสำหรับการผลิตสัตว์น้ำ
(Genetics and Biotechnology for Aquaculture)
3(3-0-6)
IAT33 6302 เทคนิคเกี่ยวกับการถ่ายยีนและการวิเคราะห์การแสดงออกของยีนสำหรับการผลิตสัตว์
(Gene Transfer and Gene Expression Techniques for Animal Production)
3(1-6-6)
IAT33 8301 พันธุศาสตร์ประชากร
(Population Genetics)
3(3-0-6)
IAT33 8302 อิทธิพลของยีนสำหรับเทคโนโลยีการปรับปรุงพันธุ์สัตว์
(Gene Actions for Animal Breeding Technology)
3(3-0-6)
IAT33 8303 พันธุศาสตร์โมเลกุลเพื่อการปรับปรุงพันธุ์สัตว์
(Molecular Genetic Technology for Animal Breeding)
3(3-0-6)
IAT33 8304 การปรับปรุงพันธุ์เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพและสร้างจุดเด่น
(Breeding for Animal Production Efficiency and Uniqueness Improvement)
3(3-0-6)
2.4) กลุ่มวิชาสรีรวิทยาของสัตว์ (Animal Physiology)
IAT33 6401 การเก็บรักษาเซลล์สืบพันธุ์และคัพภะของสัตว์โดยวิธีการแช่แข็ง
(Cryopreservation of Gametes and Embryos of Animals)
3(2-3-6)
IAT33 7401 สรีรวิทยาการสืบพันธุ์ของสัตว์เลี้ยงขั้นสูง
(Advanced Reproductive Physiology of Domestic Animals)
3(3-0-6)
IAT33 7402 สรีรวิทยาสิ่งแวดล้อมของสัตว์เลี้ยง
(Environmental Physiology of Domestic Animals)
3(3-0-6)
IAT33 7403 วิทยาต่อมไร้ท่อของสัตว์เลี้ยง
(Endocrinology of Domestic Animals)
3(3-0-6)
IAT33 7404 สรีรวิทยากล้ามเนื้อขั้นประยุกต์
(Applied Muscle Physiology)
3(3-0-6)
IAT33 7405 ชีววิทยาการสืบพันธุ์สัตว์น้ำขั้นสูง
(Advanced Reproductive Biology of Aquatic Animal)
3(3-0-6)
IAT33 7406 เซลล์และโมเลกุลของระบบภูมิคุ้มกันในสัตว์น้ำ
(Cellular and Molecular Immunology of Aquatic Animals)
3(2-3-6)
IAT33 8401 สรีรวิทยาการย่อยอาหาร
(Digestive Physiology)
3(3-0-6)
IAT33 8402 สรีรวิทยาการให้น้ำนม
(Physiology of Lactation)
3(3-0-6)
IAT33 8403 การเจริญเติบโตและพัฒนาการของสัตว์เลี้ยง
(Growth and Development of Domestic Animals)
3(3-0-6)
IAT33 8404 สรีรวิทยาการสร้างผลผลิตของสัตว์เลี้ยง
(Physiology of Domestic Animal Productivity)
3(3-0-6)
2.5) กลุ่มวิชาโภชนศาสตร์สัตว์ (Animal Nutrition)
IAT33 6501 โภชนศาสตร์สัตว์เคี้ยวเอื้องขั้นสูง
(Advanced Ruminant Nutrition)
3(2-3-6)
IAT33 6502 โภชนศาสตร์สัตว์กระเพาะเดี่ยวขั้นสูง
(Advanced Monogastric Animal Nutrition)
3(2-3-6)
IAT33 6503 สารเสริมอาหารในการผลิตสัตว์
(Feed Additives in Animal Production)
3(3-0-6)
IAT33 6504 การวิเคราะห์อาหารสัตว์ขั้นสูง
(Advanced Feed Analysis)
2(0-6-6)
IAT33 7501 นิเวศวิทยารูเมน
(Rumen Ecology)
3(2-3-6)
IAT33 7502 การจัดการอาหารและการให้อาหารสัตว์กระเพาะเดี่ยวขั้นสูง
(Advanced Feed and Feeding Management for Monogastric Animals)
3(3-0-6)
IAT33 8501 นวัตกรรมการแปรรูปและถนอมอาหารสัตว์
(Innovations in animal feed processing and preservation)
3(3-0-6)
IAT33 8502 การจัดการโภชนศาสตร์แบบแม่นยำและการคำนวณสูตรอาหารสัตว์
(Precision Nutrition Management and Feed Formulation)
3(2-3-6)
IAT33 8503 การสร้างแบบจำลองของโภชนศาสตร์สัตว์เคี้ยวเอื้อง
(Modelling of Ruminant Nutrition)
3(3-0-6)
2.6) กลุ่มวิชาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวด้านการผลิตสัตว์ (Postharvest Technologies for Animal Production)
IAT33 7601 เทคโนโลยีเนื้อสัตว์ขั้นสูง
(Advanced Meat Technology)
3(3-0-6)
IAT33 7602 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวสัตว์น้ำ
(Science and Post-harvest Technology for Aquatic Animals)
3(3-0-6)
IAT33 7603 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไข่ขั้นสูง
(Advanced in Egg Science and Technology)
IAT33 7604 เทคโนโลยีนมและผลิตภัณฑ์นมขั้นสูง
(Advanced in Milk and Milk Products Technology)
3(3-0-6)
IAT33 8601 การใช้ประโยชน์วัสดุเศษเหลือจากอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์และสัตว์น้ำ
(Utilization of by-products from the meat and fishery industry)
3(3-0-6)
IAT33 8602 การวิเคราะห์เนื้อสัตว์ขั้นสูง
(Advanced Meat Analysis)
3(2-3-6)
2.7) กลุ่มวิชาเลือกอื่นๆ (Others)
IAT33 6701 เทคโนโลยีชีวภาพทางด้านโรคในสัตว์น้ำ
(Biotechnology for Aquatic Animal Diseases)
3(3-0-6)
IAT33 6702 การปรับแปลงและการถ่ายทอดเทคโนโลยี
(Technology transformation and technology transfer)
3(3-0-6)
IAT33 6703 การจัดการข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล
(Data management and data analysis)
3(3-0-6)
IAT33 7701 ปัญหาพิเศษระดับบัณฑิตศึกษา
(Graduate Special Problem)
3(0-9-9)
IAT33 8701 สหกิจบัณฑิตศึกษา
(Graduate Co-operative Education)
8(0-0-0)

หรือรายวิชาใดๆ ที่เปิดสอนโดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี หรือรายวิชาใดๆ เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรร่วมในลักษณะต่างๆ อาทิเช่น Joint degree, Double degree, Sandwich program ของมหาวิทยาลัยหรือสถาบันวิจัยอื่นๆ ทั้งภายในและต่างประเทศซึ่งมีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี หรือเครือข่ายวิชาการที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีเป็นสมาชิก ทั้งนี้ โดยได้รับความเห็นชอบจากสาขาวิชา ฯ

3) วิทยานิพนธ์ (Thesis)
IAT33 9901 วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอก (แบบ 1.1)
(Ph.D. Thesis (Scheme 1.1))
ไม่น้อยกว่า 60
IAT33 9902 วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอก (แบบ 2.1)
(Ph.D. Thesis (Scheme 2.1))
ไม่น้อยกว่า 46
IAT33 9903 วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอก (แบบ 2.2)
(Ph.D. Thesis (Scheme 2.2))
ไม่น้อยกว่า 60

Download   มคอ. 2 หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางสัตว์ (หลักสูตรนานาชาติ) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565)

อัตราค่าธรรมเนียมการศึกษา