หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพสำหรับการผลิตสัตว์น้ำ (หลักสูตรนานาชาติ) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2567)

ชื่อหลักสูตร
ชื่อหลักสูตร (ภาษาไทย) หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพสำหรับการผลิตสัตว์น้ำ (หลักสูตรนานาชาติ)
ชื่อหลักสูตร (ภาษาอังกฤษ) Doctor of Philosophy Program in Biotechnology for Aquaculture (International Program)
ชื่อปริญญา และสาขาวิชา
ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (เทคโนโลยีชีวภาพสำหรับการผลิตสัตว์น้ำ)
ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) Doctor of Philosophy (Biotechnology for Aquaculture)
ชื่อย่อ (ภาษาไทย) ปร.ด. (เทคโนโลยีชีวภาพสำหรับการผลิตสัตว์น้ำ)
ชื่อย่อ (อังกฤษ) Ph.D. (Biotechnology for Aquaculture)
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
  1. นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย ทางด้านการผลิตสัตว์น้ำ หรือเทคโนโลยีชีวภาพ สามารถประกอบอาชีพที่เกี่ยวกับการคิดค้นเทคโนโลยี นวัตกรรม การนำเทคโนโลยีชีวภาพทางด้านการผลิตสัตว์น้ำไปใช้ในอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อุตสาหกรรมการผลิตอาหารสัตว์น้ำ อุตสาหกรรมการผลิตและพัฒนาพันธุ์สัตว์น้ำ อุตสาหกรรมระบบการผลิตสัตว์น้ำ เป็นต้น
  2. อาจารย์หรือนักวิจัยทางด้านการผลิตสัตว์น้ำ เทคโนโลยีชีวภาพด้านที่เกี่ยวข้องในสถาบันการศึกษาระดับต่างๆ จนถึงระดับอุดมศึกษา และองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย
  3. ธุรกิจส่วนตัว และอาชีพอิสระ
ปรัชญา และผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร (Program Learning Outcomes: PLOs)
ปรัชญาของหลักสูตร มุ่งผลิตนักวิจัยที่มีคุณลักษณะ “เก่งศาสตร์ เก่งสร้างสรรค์ เก่งสื่อสาร” มีคุณธรรม จริยธรรม และความรับผิดชอบต่อสังคม สามารถพัฒนาองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีชีวภาพในการผลิตสัตว์น้ำ ต่อยอดผลงานวิจัยสู่การนำไปใช้ประโยชน์ เพื่อความก้าวหน้าทางวิชาการในอุตสาหกรรมการผลิตสัตว์น้ำของประเทศ
ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร (Program Learning Outcomes: PLOs) PLO1 แสดงออกถึงความซื่อสัตย์สุจริต การมีวินัย การตรงต่อเวลา ความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
PLO2 อธิบายหลักการ ทฤษฎี เชื่อมโยงและประยุกต์ใช้ความรู้ ของรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีชีวภาพและนวัตกรรมสำหรับการผลิตสัตว์น้ำ และศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้
PLO3 นำเสนอได้ทั้งการพูด การฟัง การอ่าน และการเขียน เชิงวิชาการได้
PLO4 ออกแบบและดำเนินการวิจัยด้านเทคโนโลยีชีวภาพสำหรับการผลิตสัตว์น้ำได้
PLO5 วิเคราะห์ข้อมูล สังเคราะห์ข้อสรุป จากงานวิจัยทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพสำหรับการผลิตสัตว์น้ำได้
PLO6 ถ่ายทอดผลงานวิจัยด้านเทคโนโลยีชีวภาพสำหรับการผลิตสัตว์น้ำ หรือเผยแพร่ในระดับนานาชาติได้
หลักสูตร
สำหรับผู้ศึกษาต่อจากขั้นปริญญาโท
แผน 1.1 เป็นการศึกษาที่เน้นการวิจัยโดยการทำวิทยานิพนธ์เพียงอย่างเดียว มีจำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 60 หน่วยกิต
แผน 2.1 เป็นการศึกษาที่เน้นการทำวิทยานิพนธ์และการเรียนรายวิชาที่คิดค่าคะแนน มีจำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 60 หน่วยกิต
สำหรับผู้ศึกษาต่อจากขั้นปริญญาตรี
แผน 2.2 เป็นการศึกษาที่เน้นการทำวิทยานิพนธ์และการเรียนรายวิชาที่คิดค่าคะแนน มีจำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 90 หน่วยกิต

โครงสร้างหลักสูตร

หมวดวิชา หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการผลิตสัตว์น้ำ (หน่วยกิต)
แผนการศึกษา สำหรับผู้ที่ศึกษาต่อจากขั้นปริญญาโท สำหรับผู้ที่ศึกษาต่อจากขั้นปริญญาตรี
แผน 1.1 (ไม่น้อยกว่า 60 หน่วยกิต) แผน 2.1 (ไม่น้อยกว่า 60 หน่วยกิต) แผน 2.2 (ไม่น้อยกว่า 90 หน่วยกิต)
วิชาแกน - 33 11
วิชาเลือก1 - ≥ 11 ≥ 19
วิทยานิพนธ์2 ≥ 60 ≥ 46 ≥ 60
รวม 60 60 90

1 การเรียนรายวิชา นักศึกษาสามารถลงทะเบียนเรียนวิชาของสาขาวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางสัตว์ หรือสาขาอื่นได้ โดยอยู่ในความเห็นชอบของสาขาวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางสัตว์
2 การทำการวิจัยเพื่อทำวิทยานิพนธ์นั้น อาจกระทำทั้งหมดที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี หรือที่มหาวิทยาลัยหรือสถาบันวิจัยอื่นๆ ทั้งภายในและต่างประเทศซึ่งมีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี หรือเครือข่ายวิชาการที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีเป็นสมาชิก
3 เป็นวิชาในกลุ่มสัมมนา 3 หน่วยกิต ถ้าไม่เคยเรียนวิชาที่เทียบเท่ากับ IAT36 5000 เทคโนโลยีชีวภาพสำหรับการเพาะเลี้ยงและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ และ IAT36 6100 ระเบียบวิธีวิจัยและการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ มาก่อน ต้องลงทะเบียนเรียนวิชาทั้งสองนี้ เพิ่มอีก 6 หน่วยกิต

รายวิชาในหลักสูตร

1) วิชาแกน (Core Courses)
IAT36 5000 เทคโนโลยีชีวภาพสำหรับการเพาะเลี้ยงและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ
(Biotechnology for Aquaculture and aquatic products)
3(3-0-6)
IAT36 6000 ระเบียบวิธีวิจัยและการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์
(Research Methods and Scientific Communication)
3(3-0-6)
IAT36 9101 สัมมนาระดับปริญญาเอก 1
(Ph.D. Seminar I)
1(1-0-9)
IAT36 9102 สัมมนาระดับปริญญาเอก 2
(Ph.D. Seminar II)
1(1-0-9)
IAT36 9103 สัมมนาระดับปริญญาเอก 3
(Ph.D. Seminar III)
1(1-0-9)
IAT36 9104 สัมมนาระดับปริญญาเอก 4
(Ph.D. Seminar IV)
1(1-0-9)
IAT36 9105 สัมมนาระดับปริญญาเอก 5
(Ph.D. Seminar V)
1(1-0-9)
2) วิชาเลือก (Electives)
2.1) กลุ่มวิชาสัมมนา (Seminar)
IAT36 8104 สัมมนาระดับปริญญาโท 4
(M.Sc. Seminar IV)
1(1-0-9)
2.2) กลุ่มวิชาเทคโนโลยีชีวภาพในการผลิตสัตว์น้ำ (Basics for Aquaculture Biotechnology)
ด้านพันธุศาสตร์ การปรับปรุงพันธุ์
IAT36 6201 การประยุกต์ใช้พันธุศาสตร์และอณูพันธุศาสตร์ในการผลิตสัตว์น้ำ
(Application of Genetics and Molecular Genetics in Aquaculture)
3(3-0-6)
IAT36 7201 พันธุศาสตร์และเทคโนโลยีชีวภาพสำหรับการผลิตสัตว์น้ำ
(Genetics and Biotechnology for Genetic Improvement in Aquaculture)
3(3-0-6)
IAT36 7202 เทคนิคเกี่ยวกับการถ่ายยีนและการวิเคราะห์การแสดงออกของยีนสำหรับการผลิตสัตว์
(Gene Transfer and Gene Expression Techniques for Aquatic Animal Production)
3(1-6-6)
ด้านสรีรวิทยา ชีววิทยา ชีวเคมี
IAT34 5228 การเก็บรักษาเซลล์สืบพันธุ์และคัพภะของสัตว์โดยวิธีการแช่แข็งเทคโนโลยีโอมิกส์และชีววิทยาระบบ
(Omics Technology and Systems Biology)
3(3-0-12)
IAT34 5229 ปฏิบัติการเทคโนโลยีโอมิกส์และชีววิทยาระบบ
(Omics Technology and Systems Biology Laboratory)
1(0-3-6)
IAT36 6301 ชีววิทยาและเทคโนโลยีชีวภาพการสืบพันธุ์ในปลา
(Biology and Biotechnology Reproduction in Fish)
3(3-0-6)
IAT36 6302 สรีรวิทยาสิ่งแวดล้อมของปลา
(Environmental Physiology of Fish)
3(3-0-6)
IAT36 7301 การเก็บรักษาเซลล์สืบพันธุ์และคัพภะของสัตว์โดยวิธีการแช่เยือกแข็ง
(Cryopreservation of Gametes and Embryos of Animals)
3(2-3-4)
IAT36 8301 เทคนิคทางด้านชีววิทยาระดับโมเลกุลในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
(Molecular Biology Technique in Aquaculture)
3(1-6-4)
ด้านการจัดการสุขภาพสัตว์น้ำ
IAT36 7401 เซลล์และโมเลกุลของระบบภูมิคุ้มกันในสัตว์น้ำ
(Cellular and Molecular Immunology of Aquatic Animals)
3(2-3-6)
IAT36 8401 เทคโนโลยีชีวภาพทางด้านโรคในสัตว์น้ำ
(Biotechnology for Aquatic Animal Diseases)
3(3-0-6)
IAT36 8402 เทคโนโลยีชีวภาพสำหรับการการจัดการคุณภาพน้ำในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
(Biotechnology for Water Quality Management in Aquaculture)
3(2-3-6)
ด้านเทคโนโลยีเก็บเกี่ยวและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ
IAT36 6501 วิทยาศาสตร์และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีชีวภาพภายหลังการจับสัตว์น้ำ
(Post-harvest Science and Application of Biotechnology for Aquatic Animals)
3(3-0-6)
IAT36 6502 เคมีผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ
(Chemistry of Aquatic Products)
3(2-3-6)
IAT36 7501 เทคโนโลยีชีวภาพในการแปรรูปผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ
(Biotechnology in Aquatic Products Processing)
3(2-3-6)
IAT36 7502 การใช้ประโยชน์วัสดุเศษเหลือจากอุตสาหกรรมสัตว์น้ำ
(Utilization of By-products from Aquatic Products Industry)
3(2-3-6)
IAT36 7503 การพัฒนาผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำและนวัตกรรม
(Aquatic Products Development and Innovation)
3(2-3-6)
IAT36 8501 กฎหมายความปลอดภัยผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ
(Law and Safety of Aquatic Products)
3(3-0-6)
IAT36 8502 อาหารฟังก์ชั่นจากสัตว์น้ำ
(Functional Foods from Aquatic Animals)
3(3-0-6)
2.3) กลุ่มวิชาเลือกอื่นๆ (Others)
IAT36 6601 โภชนศาสตร์และเทคโนโลยีการผลิตอาหารสัตว์น้ำ
(Aquaculture Nutrition and Feed Technology)
3(3-0-6)
IAT36 7601 ปัญหาพิเศษระดับบัณฑิตศึกษา
(Graduate Special Problem)
3(0-9-9)
IAT36 8601 สหกิจบัณฑิตศึกษา
(Graduate Co-operative Education)
8(0-0-0)

หรือรายวิชาใดๆ ที่เปิดสอนโดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

3) วิทยานิพนธ์ (Thesis)
IAT36 9701 วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอก (แผน 1.1)
(Ph.D. Thesis (Scheme 1.1))
ไม่น้อยกว่า 60
IAT36 9702 วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอก (แผน 2.1)
(Ph.D. Thesis (Scheme 2.1))
ไม่น้อยกว่า 46
IAT36 9703 วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอก (แผน 2.2)
(Ph.D. Thesis (Scheme 2.2))
ไม่น้อยกว่า 60

Download  มคอ. 2 หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการผลิตสัตว์น้ำ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2567)

อัตราค่าธรรมเนียมการศึกษา