หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอาหาร (หลักสูตรนานาชาติ) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565)

ชื่อหลักสูตร
ชื่อหลักสูตร (ภาษาไทย) หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอาหาร (หลักสูตรนานาชาติ)
ชื่อหลักสูตร (ภาษาอังกฤษ) Doctor of Philosophy Program in Food Technology (International Program)
ชื่อปริญญา และสาขาวิชา
ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (เทคโนโลยีอาหาร)
ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) Doctor of Philosophy (Food Technology)
ชื่อย่อ (ภาษาไทย) ปร.ด. (เทคโนโลยีอาหาร)
ชื่อย่อ (อังกฤษ) Ph.D. (Food Technology)
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
  1. นักวิชาการด้านเทคโนโลยีอาหาร ทั้งในส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และบริษัทเอกชนทั้งในและต่างประเทศ
  2. อาจารย์และนักวิจัยทั้งในและต่างประเทศ
  3. อาชีพอิสระที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจอาหาร
  4. กลุ่มอาชีพที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอาหาร
ปรัชญา และผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร (Program Learning Outcomes: PLOs)
ปรัชญาของหลักสูตร มุ่งผลิตบัณฑิตเพื่อพัฒนาวิชาการเชิงลึกด้านเทคโนโลยีอาหารในระดับสากล
ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร (Program Learning Outcomes: PLOs) PLO1 อภิปรายความรู้ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีอาหารเชิงลึก
PLO2 ประยุกต์ใช้ความรู้เพื่อแก้ปัญหาทางวิชาชีพเชิงลึกได้
PLO3 สื่อสารโดยภาษาอังกฤษได้อย่างถูกต้อง
PLO4 ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้ตามจริยธรรมที่ดี/td>
PLO5 ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
PLO6 จัดการด้านเวลาในการทำงานวิจัยได้
PLO7 สร้างสรรค์งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีอาหารเชิงลึก
Sub PLO7.1 สามารถคิดเชิงวิพากษ์ด้านเทคโนโลยีอาหารเชิงลึก
Sub PLO7.2 ดำเนินงานวิจัยเชิงลึกได้
หลักสูตร
แบบ 1 เป็นแผนการศึกษาที่เน้นการวิจัย โดยมีการทำวิทยานิพนธ์เพียงอย่างเดียว
แบบ 1.1 สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จการศึกษาขั้นปริญญาโท หน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 60 หน่วยกิต โดยต้องลงทะเบียนเรียนรายวิชา IAT35 8801 สัมมนาดุษฎีบัณฑิต 1 IAT35 8802 สัมมนาดุษฎีบัณฑิต 2 IAT35 8803 สัมมนาดุษฎีบัณฑิต 3 และ IAT35 8804 สัมมนาดุษฎีบัณฑิต 4 โดยไม่คิดหน่วยกิต
แบบ 2 เป็นแผนการศึกษาที่เน้นการทำวิทยานิพนธ์และการเรียนรายวิชา
แบบ 2.1 สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จการศึกษาขั้นปริญญาโท เป็นแผนการศึกษาที่เน้นการทำวิทยานิพนธ์และการเรียนรายวิชา โดยมีการเรียนวิชาบังคับ จำนวน 4 หน่วยกิต วิชาเลือกจำนวนไม่น้อยกว่า 11 หน่วยกิต (โดยเลือกในกลุ่มสาขาวิชาเทคโนโลยีอาหารอย่างน้อย 6 หน่วยกิต) และวิชาวิทยานิพนธ์จำนวนไม่น้อยกว่า 45 หน่วยกิต หน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 60 หน่วยกิต
แบบ 2.2 สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จการศึกษาขั้นปริญญาตรี (เกียรตินิยม) เป็นแผนการศึกษาที่เน้นการทำวิทยานิพนธ์และการเรียนรายวิชา โดยมีการเรียนวิชาบังคับ จำนวน 4 หน่วยกิต วิชาเลือกจำนวนไม่น้อยกว่า 26 หน่วยกิต (โดยเลือกในกลุ่มสาขาวิชาเทคโนโลยีอาหารอย่างน้อย 14 หน่วยกิต) และวิชาวิทยานิพนธ์จำนวนไม่น้อยกว่า 60 หน่วยกิต หน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 90 หน่วยกิต

โครงสร้างหลักสูตร

หมวดวิชา หลักสูตร พ.ศ. 2565 (จำนวนหน่วยกิต)
แบบ 1.1 แบบ 2.1 แบบ 2.2
1) หมวดวิชา - ไม่น้อยกว่า 15 ไม่น้อยกว่า 30
   หมวดวิชาบังคับ - 4 4
   หมวดวิชาเลือก - ไม่น้อยกว่า 11(1) ไม่น้อยกว่า 26(2)
2) วิทยานิพนธ์ ไม่น้อยกว่า 60 ไม่น้อยกว่า 45 ไม่น้อยกว่า 60
จำนวนหน่วยกิต รวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 60 ไม่น้อยกว่า 60 ไม่น้อยกว่า 90

* โดยต้องลงทะเบียนเรียนรายวิชา IAT358801 สัมมนาดุษฎีบัณฑิต 1, IAT358802 สัมมนาดุษฎีบัณฑิต 2, IAT358803 สัมมนาดุษฎีบัณฑิต 3, และ IAT358804 สัมมนาดุษฎีบัณฑิต 4 โดยไม่คิดหน่วยกิต
(1) รายวิชาเลือก โดยเลือกในกลุ่มสาขาวิชาเทคโนโลยีอาหาร อย่างน้อย 6 หน่วยกิต
(2) รายวิชาเลือก โดยเลือกในกลุ่มสาขาวิชาเทคโนโลยีอาหาร อย่างน้อย 14 หน่วยกิต

รายวิชาในหลักสูตร

1) วิชาบังคับ (Compulsory Courses) 4 หน่วยกิต
IAT35 8801 สัมมนาดุษฎีบัณฑิต 1
(Ph.D. Seminar I)
1(1-0-2)
IAT35 8802 สัมมนาดุษฎีบัณฑิต 2
(Ph.D. Seminar II)
1(1-0-2)
IAT35 8803 สัมมนาดุษฎีบัณฑิต 3
(Ph.D. Seminar III)
1(1-0-2)
IAT35 8804 สัมมนาดุษฎีบัณฑิต 4
(Ph.D. Seminar IV)
1(1-0-2)
2) วิชาปรับพื้นฐานความรู้ทางเทคโนโลยีอาหาร* (Foundation Courses)
รายวิชาที่ต้องเรียนสำหรับผู้ที่ไม่ได้จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากหลักสูตรอุตสาหกรรมเกษตร วิทยาศาสตร์การอาหาร เทคโนโลยีอาหาร วิศวกรรมอาหาร พัฒนาผลิตภัณฑ์ และ เทคโนโลยีการบรรจุ ทั้งนี้ โดยความเห็นชอบของสาขาวิชาเทคโนโลยีอาหาร
IAT35 5109 หลักจุลชีววิทยาอาหาร
(Principles of Food Microbiology)
4(4-0-8)
IAT35 5209 หลักเคมีอาหาร
(Principles of Food Chemistry)
4(4-0-8)
IAT35 5309 หลักการแปรรูปอาหาร
(Principles of Food Processing)
4(4-0-8)
IAT35 5409 หลักวิศวกรรมอาหาร
(Principles of Food Engineering)
4(4-0-8)
* คิดระดับคะแนนเป็น S หรือ U และไม่คิดเป็นหน่วยกิตในรายวิชาเลือก
3) วิชาเลือก (Elective Courses) หน่วยกิต
3.1 วิชาเลือกของสาขาวิชาเทคโนโลยีอาหาร จากรายวิชาต่อไปนี้
IAT35 5101 เทคโนโลยีชีวภาพอาหาร
(Food Biotechnology)
3(3-0-6)
IAT35 5201 โภชนเภสัชภัณฑ์และอาหารสุขภาพ
(Nutraceuticals and Functional Foods)
4(4-0-8)
IAT35 5202 การทดสอบโดยเซลล์ไลน์สำหรับอาหารฟังก์ชั่น
(Cell-Based Assays for Functional Foods)
4(2-6-4)
IAT35 5301 การประเมินอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ชีวภาพ
(Shelf-Life Evaluation of Biological Products)
3(2-3-4)
IAT35 6101 จุลชีววิทยาอาหารขั้นสูง
(Advanced Food Microbiology)
3(3-0-6)
IAT35 6102 สารเมตาบอไลท์จากจุลินทรีย์สำหรับอุตสาหกรรมอาหาร
(Microbial Metabolites for Food Industry)
3(3-0-6)
IAT35 6103 การประเมินความเสี่ยงของความปลอดภัยทางจุลชีววิทยาในอุตสาหกรรมอาหาร
(Risk Assessment of Microbiological Safety in Food Industry)
3(3-0-6)
IAT35 6201 การวิเคราะห์อาหารด้วยเครื่องมือ
(Instrumental Analysis of Food)
4(3-3-6)
IAT35 6202 คาร์โบไฮเดรตในอาหาร
(Food Carbohydrates)
3(3-0-6)
IAT35 6203 โปรตีนในอาหาร
(Food Proteins)
3(3-0-6)
IAT35 6204 เอนไซม์ทางอาหาร
(Food Enzymes)
3(2-3-4)
IAT35 6205 ลิพิดในอาหาร
(Food Lipids)
3(3-0-6)
IAT35 6206 เทคโนโลยีกลิ่นรสอาหาร
(Food Flavors Technology)
3(3-0-6)
IAT35 6207 โภชนาการอาหารขั้นสูง
(Advanced Food Nutrition)
4(4-0-8)
IAT35 6208 อาหารสำหรับระบบภูมิคุ้มกัน
(Foods for Immune System)
2(2-0-2)
IAT35 6209 สตาร์ชและการดัดแปร
(Starch and Modifications)
3(3-0-6)
IAT35 6301 การแปรรูปอาหารขั้นสูง
(Advanced Food Processing)
3(3-0-6)
IAT35 6302 เทคโนโลยีคอลลอยด์และอิมัลชันในอาหาร
(Food Colloidal and Emulsion Technology)
4(4-0-8)
IAT35 6303 เทคโนโลยีวิทยากระแสของอาหาร
(Food Rheological Technology)
4(3-3-6)
IAT35 6304 เทคโนโลยีการทำแห้งผลิตผลทางการเกษตร
(Drying Technology for Agricultural Products)
4(2-6-4)
IAT35 6305 การเปลี่ยนเฟสและสถานะของอาหาร
(Phase/State Transition in Foods)
3(3-0-6)
IAT35 6401 สมบัติทางกายภาพและวิศวกรรมของวัสดุชีวภาพ
(Physical and Engineering Properties of Biomaterials)
3(3-0-6)
IAT35 6402 กระบวนการถ่ายเทในอาหารและกระบวนการชีวภาพ
(Transfer Processes in Food and Bioprocess)
3(3-0-9)
IAT35 6403 การประเมินและการปรับปรุงกระบวนการผลิตอาหาร
(Food Process Evaluation and Improvement)
3(2-3-4)
IAT35 6501 สถิติเพื่อการวิจัยทางเทคโนโลยีอาหาร
(Statistics for Food Technology Research)
4(3-3-6)
IAT35 6502 เทคโนโลยีการประเมินทางประสาทสัมผัส
(Sensory Evaluation Technology)
4(4-0-8)
IAT35 6601 หัวข้อเฉพาะทางเทคโนโลยีอาหาร
(Selected Topics in Food Technology)
2(2-0-4)
IAT35 6701 ปัญหาพิเศษ
(Special Problems)
2(0-6-4)
3.2 รายวิชาเลือกระดับบัณฑิตศึกษาวิชาอื่น ๆ จากสำนักวิชาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อ วิทยานิพนธ์ที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัย ทั้งนี้โดยความเห็นชอบของสาขาวิชา
3.3 รายวิชาระดับบัณฑิตศึกษาที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัยร่วม ที่มีการทำบันทึกข้อตกลงว่าด้วยหลักสูตรควบ 2 ปริญญา (Double Degree Program) ทั้งนี้โดยความเห็นชอบของสาขาวิชา
4) วิทยานิพนธ์ (Thesis) หน่วยกิต
IAT35 9901 วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต แบบ 1.1
(Dissertation Scheme 1.1)
ไม่น้อยกว่า 60
IAT35 9902 วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต แบบ 2.1
(Dissertation Scheme 2.1)
ไม่น้อยกว่า 45
IAT35 9903 วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต แบบ 2.2
(Dissertation Scheme 2.2)
ไม่น้อยกว่า 60

Download   มคอ. 2 หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอาหาร (หลักสูตรนานาชาติ) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565)

อัตราค่าธรรมเนียมการศึกษา