ความเป็นมา
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีได้จัดงานเกษตรสุรนารีมาอย่างต่อเนื่อง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้นวัตกรรมด้านการวิจัย เทคโนโลยีและความก้าวหน้าทางการเกษตร การจัดแสดงนิทรรศการด้านการเกษตรของภาคีเครือข่าย การจัดกิจกรรมอบรมสัมมนา เพื่อให้เกษตรกร ผู้ประกอบการและประชาชนที่สนใจนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ปี 2568 มหาวิทยาลัยได้กำหนดจัดงาน “เกษตรสุรนารี’68” ในระหว่างวันที่ 11 – 19 มกราคม 2568 ณ อาคารสุรพัฒน์ 2 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี โดยสำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตรได้จัดกิจกรรมการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์และสิ่งประดิษฐ์ทางด้านเทคโนโลยีการเกษตร ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลาย และอาชีวศึกษา (ระดับ ปวช.) เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ตามหลักการทางวิทยาศาสตร์อย่างเป็นระบบ การพัฒนาทักษะทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีด้านการเกษตรให้แก่นักเรียนในระดับมัธยมศึกษา ตลอดจนเพื่อส่งเสริมผู้มีความสามารถทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้กับเด็กและเยาวชน
วัตถุประสงค์
- เพื่อส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพผู้มีความสามารถทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตรในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลายและอาชีวศึกษา (ระดับ ปวช.) ให้แสดงความสามารถในทางสร้างสรรค์
- เพื่อกระตุ้นและส่งเสริมให้เยาวชนคิดค้นและประดิษฐ์ผลงานทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร
- เพื่อปรับเปลี่ยนทัศนคติของเยาวชนต่ออาชีพเกษตร และตระหนักถึงความสำคัญของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตรที่มีต่อการพัฒนาประเทศ
- เพื่อส่งเสริมการใช้เวลาว่างของเยาวชนให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนและสังคม
ประเภทของโครงงานที่จัดประกวด
โครงงานที่จะส่งประกวด ต้องเป็นโครงงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางด้านการเกษตร ซึ่งอาจเป็นโครงงานที่เกี่ยวกับการทดลอง สำรวจข้อมูล หรือสิ่งประดิษฐ์ ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลายและอาชีวศึกษา (ปวช.) โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
- วิทยาศาสตร์การเกษตร ได้แก่ เทคโนโลยีชีวภาพ สัตววิทยา พืชศาสตร์ พฤกษศาสตร์ วิทยาศาสตร์ทั่วไป
- สิ่งประดิษฐ์ ได้แก่ โครงงานที่แสดงได้ด้วยชิ้นงานซึ่งประดิษฐ์ขึ้นมาโดยอาศัยหลักการวิทยาศาสตร์ และมีข้อมูลการทดลองการใช้งานประกอบ
การรับสมัคร
ประชาสัมพันธ์การจัดการประกวดผ่านสื่อออนไลน์ โดยมีข้อกำหนด คือ
- สามารถส่งผลงานเข้ารับการคัดเลือกได้โรงเรียนละ 3 เรื่อง/ประเภท จำนวนนักเรียนในโครงงาน ตั้งแต่ 1 - 3 คน และอาจารย์ที่ปรึกษา 1-2 คน
- โครงงานที่เข้าร่วมการประกวดจะต้องไม่เคยได้รับรางวัลในระดับภาค-ระดับชาติมาก่อน หากมีผู้ร้องเรียนและมหาวิทยาลัยตรวจสอบพบจะถูกตัดสิทธิ์เข้าร่วมการประกวดทันที
โรงเรียนที่สนใจลงทะเบียน และสมัครผ่านระบบออนไลน์ พร้อม up-load ไฟล์ข้อมูลโครงงานเข้าในระบบการรับสมัคร ได้แก่ เอกสารโครงงาน และลิงค์วิดีทัศน์ ที่อัพโหลดผ่าน Youtube ความยาวไม่เกิน 5 นาที ภายในวันที่ 10 ธันวาคม 2567
รายละเอียดหัวข้อโครงงาน
- ชื่อโครงงาน
- ประเภท การประกวดแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ วิทยาศาสตร์การเกษตร และสิ่งประดิษฐ์ ภายใต้แนวคิด “นวัตกรรมด้านการเกษตร”
- คณะทำงาน ประกอบไปด้วย หัวหน้ากลุ่ม สมาชิก 2-3 คน และอาจารย์ที่ปรึกษา 1- 2 ท่าน
- ความสำคัญ/ปัญหา/มูลเหตุจูงใจ ( อธิบายถึงที่มาของปัญหาที่นำไปสู่เรื่องของโครงงานนี้ ว่ามีเหตุจูงใจหรือมีแรงบันดาลใจจากอะไร มีแนวคิดมาจากไหน อย่างไร )
- สมมุติฐานและแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ที่นำมาใช้
- วัตถุประสงค์
- แผนการดำเนินงาน ( อธิบายถึงขั้นตอนและวิธีการที่จะทำโครงงานนี้เพื่อให้ได้ผลตามวัตถุประสงค์ )
- ขั้นตอนการทดลอง
- การเก็บข้อมูล/และการบันทึกผลพร้อมแนบหลักฐาน
- ค่าใช้จ่าย
- ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
- เอกสารอ้างอิง
Download ใบสมัครเข้าร่วมการประกวดโครงงาน
การคัดเลือก
- รอบแรก มหาวิทยาลัยจะพิจารณาจากโครงงานของนักเรียนเป็นหลัก โดยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง และประกาศผลการคัดเลือกรอบแรก วันที่ 13 ธันวาคม 2567
- รอบตัดสิน โครงงานที่ผ่านเข้ารอบประเภทละ 10 ทีม ต้องมารายงานตัวและนำโครงงานมาจัดแสดงเพื่อให้คณะกรรมการพิจารณา ณ อาคารสุรพัฒน์ 2 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ในวันพุธที่ 15 มกราคม 2568 ตั้งแต่เวลา 09.00 น.
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและอาชีวศึกษา (ปวช.) ในวันพฤหัสบดีที่ 16 มกราคม 2568 ตั้งแต่เวลา 09.00 น. - ทีมที่เข้ารอบ 10 ทีมสุดท้ายในแต่ละประเภท จะได้รับเงินสนับสนุนการจัดแสดงโครงงาน ทีมละ 3,000 บาท
ประกาศผลและรับรางวัล
- ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น วันที่ 15 มกราคม 2568 ณ อาคารสุรพัฒน์ 2 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เวลา 15.00 น.
- ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย วันที่ 16 มกราคม 2568 ณ อาคารสุรพัฒน์ 2 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เวลา 15.00 น.
รางวัล
- รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ โล่ประกาศเกียรติคุณสำหรับโรงเรียน และเงินทุนการศึกษา 10,000 บาท และเกียรติบัตรสำหรับนักเรียนและอาจารย์ที่ปรึกษา
- รางวัลที่ 2 ได้แก่ โล่ประกาศเกียรติคุณสำหรับโรงเรียน เงินสนับสนุน รางวัลละ 7,000 บาท และเกียรติบัตรสำหรับนักเรียนและอาจารย์ที่ปรึกษา
- รางวัลที่ 3 ได้แก่ โล่ประกาศเกียรติคุณสำหรับโรงเรียน เงินสนับสนุน รางวัลละ 5,000 บาท และเกียรติบัตรสำหรับนักเรียนและอาจารย์ที่ปรึกษา
- รางวัลชมเชย ได้แก่ โล่ประกาศเกียรติคุณสำหรับโรงเรียน เงินสนับสนุน รางวัลละ 2,000 บาท และเกียรติบัตรสำหรับนักเรียนและอาจารย์ที่ปรึกษา
เกณฑ์การตัดสิน
การตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นเด็ดขาด โดยใช้เกณฑ์ในการตัดสิน ดังนี้
ภาพรวมของโครงงาน (60 คะแนน)
- การสังเกตที่นํามาสู่ปัญหา (แนวคิดใหม่หรือบูรณาการ)
- การตั้งสมมุติฐานที่ถูกต้อง ชัดเจน
- การใช้วิธีทางวิทยาศาสตร์ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
- การให้นิยามเชิงปฏิบัติการอย่างถูกต้อง
- การเสนอแนวคิดและการระบุตัวแปรที่ต้องการศึกษา
- การออกแบบการศึกษาทดลอง
- การทําการทดลอง โดยใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ที่ถูกต้องและเหมาะสมกับระดับความรู้และปัญหาโดยมีความเข้าใจอย่างดี
- การแสดงให้เห็นถึงความรู้ ความเข้าใจในเรื่องที่ทํา
- การอ้างอิงถึงความรู้ที่เกี่ยวข้องได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม มีความเข้าใจ ในความรู้ที่อ้างถึง เป็นอย่างดี
- การแสดงหลักฐานการบันทึกข้อมูลอย่างเพียงพอต่อเนื่องและเป็นระเบียบ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความละเอียดถี่ถ้วน ความตั้งใจจริงในการทดลอง
ศักยภาพการนำไปใช้ประโยชน์ (40 คะแนน)
- ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ แปลกใหม่
- การนำไปใช้ประโยชน์
- คุณค่าหรือประโยชน์ของโครงงาน ความปลอดภัย และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
ผู้ประสานงานกิจกรรม
- คุณกุลฒี รัตนรักษ์ หมายเลขโทรศัพท์ 044-224149, 099-1624653
- คุณเมธวดี กรองโพธิ์ หมายเลขโทรศัพท์ 044-223711, 090-9921163